อเล็กซานเดอร์ เบลาเยฟ (Александр Поманович Беляев)
นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์โซเวียต ได้รับฉายาว่าจูลส์ เวิร์น (Jules Verne) แห่งรัสเซีย
เบลาเยฟ เกิดวันที่ 16 มีนาคม 1884 ในสโมเลนส์ก (Smolensk), จักรวรรดิรัสเซีย ในครอบครัวพระนักบวชออโธด็อกซ์พ่อของเขาเป็นนักบวชชื่อโรมัน (Roman Petrovich Delyaev) และแม่ชื่อนาตาลย่า (Natalya Fyodorovna)
เบลาเยฟมีพี่น้องอีกสองคน แต่ว่าทั้งคู่เสียชีวิตตั้งแต่ยังเล็ก โดยน้องสาว ชื่อนิน่า (Nina) เสียชีวิตเพราะโรคมะเร็งซาร์โคม่า (sarcoma) ส่วนน้องชายชื่อวาซิลี (Vasili) เสียชีวิตเพราะจมน้ำ
ในวัยเด็กเบลาเยฟ ชอบดนตรี เขาฝึกการเล่นไวโอลีนและเปียโนด้วยตนเอง
1895 เบลาเยฟ เข้าเรียนในโรงเรียนสอนศาสนาสโมเลนส์ก (Smolensk seminary) ตามความต้องการของบิดา แต่เบลาเยฟกลับไม่มีความศรัทธาในศาสนา
1901 จบจากโรงเรียนศาสนาสโมเลนส์ก
1902 หลังจากเรียนจบจากโรงเรียนศาสนาเขาจึงเลือกเปลี่ยนไปเรียนทางด้านกฏหมาย
ระหว่างที่เรียนในโรงเรียนกฏหมาย พ่อของเขาก็เสียชีวิต ทำให้เบลาเยฟกลายเป็นเสาหลักของครอบครัว ที่เขาทำงานหาเงินโดยการส่งบทละครให้กับโรงละคร
1906 สำเร็จการศึกษา และในช่วงนี้ฐานะทางการเงินของเขาดีขึ้น เขาจึงได้ออกเดินทางท่องเที่ยว และทำงานเขียนไปด้วย
1908 แต่งงานกับแอนนา (Anna Ivanovna Stankevich) แต่ว่าปีต่อมาทั้งคู่ก็แยกทางกัน
1913 แต่งงานกับ เวร่า (Vera Bylinskaya)
1914 เกิดสงครามโลก ครั้งที่ 1 แต่เบราเยฟไม่ได้ถูกเกณฑ์เป็นทหาร เนื่องจากเอามีอาการบาดเจ็บที่หลังมาตั้งแต่วัยเด็ก และไม่นานต่อมาเขายังล้มป่วยด้วยวัณโรค ซึ่งการรักษาไม่ประสบผลสัมฤทธิ์ เชื้อโรคได้แพร่กระจายเข้าไปยังกระดูกสันหลัง ทำให้เบลาเยฟมีอาการอัมพาตที่ช่วงขา ซึ่งเขาใช้เวลารักษานานกว่าหกปี ในช่วงเวลานี้เองที่ภรรยาที่ยังสาวของเขาก็ขอแยกทางเพราะไม่ต้องการที่จะดูแลคนป่วย
หลังจากแยกทางกับภรรยา เขาก็ย้ายไปรอสตอฟ ออน ดอน (Rostov-on-Don) และเขียนเรื่องสั้นส่งให้กับหนังสือพิมพ์ เขตเปรียซอฟสกี้ (Priazovsky Krai)
ต่อมาเบลาเยฟ ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่ยาลต้า (Yalta) พร้อมกับมารดา เพื่อหาวิธีในการรักษาที่เหมาะสม
ช่วงเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาล เบลาเยฟ ได้อ่านหนังสือหลากหลายแนว ทั้งประวัติศาสตร์, การแพทย์, เทคโนโลยี และยังพยายามเรียนภาษาอื่นๆ ด้วยตัวเอง เขายังได้มีโอกาสในการอ่านผลงานแนวไซไฟของจูลส์ เวิร์น (Jules Verne) , เอช. จี. เวลส์ (H. G. Wells) ทไซคอฟสกี้ (Konstantin Tsiolkovsky) และนักเขียนอื่นๆ
1918 ช่วงเวลานี้เขาทำงานเขียนบทความส่งให้กับหนังสือพิมพ์ไวน์การ์ด (White Guard)
1919 ได้พบกับมาร์การิต้า (Margarita Konstantinovna Magnushevskaya) ที่ทำงานอยู่ในห้องสมุด ซึ่งต่อมามาร์การิต้ากลายเป็นภรรยาของเขา
ช่วงฤดูใบไม้ผลิ แต่ของเขาก็เสียชีวิตจากการขาดสารอาหาร
1921 ธันวาคม, แต่งงานกับมาร์การิต้า
1922 เบลาเยฟสามารถเอาชนะอาการอัมพาตได้ และเริ่มหางานทำในเมืองยาลต้านี้ โดยเริ่มจากทำงานเป็นนักสืบ, บรรณารักษ์ เป็นช่วงเวลาสั้นๆ
1923 ย้ายมาอาศัยอยู่ในมอสโคว์ และเริ่มกลับมาทำงานด้านกฏหมายอีกครั้ง โดยเขาทำงานเป็นที่ปรึกษาให้กับหลายหน่วยงานของรัฐบาล
1925 มีผลงานเขียนนิยายเรื่องแรก Professor Dowell’s Hear (Голова Профессора Доуэля)
1928 มาอาศัยในเลนินกราด (Leningard) พร้อมกับภรรยาและลูกสาวคนโต และทำงานเป็นนักเขียนอย่างเต็มตัว
1930 ลูกสาวคนเล็กของเบลาเยฟเสียชีวิตด้วยโรค (meningitis) ในขณะที่มีอายุ 6 ขวบ
1932 ย้ายไปอยู่ในเมืองพุชกิ้น (Pushkin) ซึ่งเป็นชานเมืองของเลนินกราด
1942 6 มกราคม, เบลาเยฟ วัย 58 ปี เสียชีวิตเพราะขาดอาหารจนตาย ในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2 เมื่อเมืองที่เขาอาศัยอยู่นั้นถูกยึดครองโดยนาซีเยอรมัน โดยที่หลุมศพของเบลาเยฟที่แน่ชัดก็ไม่สามารถระบุได้
ส่วนภรรยาและลูกของเบลาเยฟ ถูกจับไปโดยนาซี พวกเขาถูกบันทึกสถานะเอาไว้ว่า Volksdeutsche เพราะภรรยาของเบลาเยฟมีเชื้อสายสวีเดน ช่วงปลายสงครามโลก พวกเขาถูกนำไปยังโปแลนด์
เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ภรรยาและลูกของเบลาเยฟถูกมองจากทางการโซเวียตว่าเป็นพวกสมรู้ร่วมคิดกับนาซี และถูกเนรเทศไปไซบีเรีย ที่เมืองบาร์นวล (Barnaul) และอยู่ที่นั้นเป็นเวลา 11 ปี
ผลงานเขียนบางส่วน
- Голова профессора Доуэля (Professor Dowell’s Head), 1925
- Властелин мира (The Lord of the World ), 1926
- Человек-амфибия (Amphibian Man), 1927
- Человек, который не спит (The Man Who does not sleep), 1926
- Человек, потерявший лицо (The Man Who Lost Face), 1929
- Хойти-Тойти (Hoyti-Toiti), 1930
- Ариэль (Ariel), 1941