Numquam prohibere somniantes
Enteromix cancer vaccine
Enteromix cancer vaccine

Enteromix cancer vaccine

Enteromix (Photo: National Medical Research Radiological Center of Russia)

สถาบันรังสีวิทยาและการวิจัยทางการแพทย์แห่งชาติ (National Medical Research Radiological Centre) สังกัดกระทรวงสาธารณสุขของรัสเซีย ร่วมกับสถาบันชีวโมลิกุลเอ็นเกิ้บฮาร์ด (Engelhardt Institute of Molecular Biology) กำลังพัฒนาวัคซีนต่อต้านมะเร็ง ที่มีชื่อว่า “Enteromix” (Энтеромикс) ซึ่งเป็นวัคซีนประเทศ Oncolytic vaccine (Onco vaccine) ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของวัคซีนที่ใช้วิธีกระตุ้นภูมิคุ้มกันในการโจมตีเซลล์มะเร็ง  เป้าหมายของวัคซีนประเภทนี้จึงเป็นความต้องการที่จะกำจัดเซลล์มะเร็งในร่างกายมากกว่าการป้องกัน

ขณะนี้วัคซีน Enteromix อยู่ในขั้นที่กำลังจะเริ่มการทดสอบในระยะที่ 1 (first phase) แต่ว่าถูกระงับไปชั่วคราาวเพราะจำนวนผู้สนใจสมัครเข้ามาร่วมเป็นผู้ถูกทดสอบมีจำนวนมาก

คาดว่าวัคซีน Enteromix ถ้าสำเร็จจะมีราคาประมาณ 3 แสนรูเบิล (1 แสนบาท) ต่อโดส แต่ทางการรัสเซียมีความต้องการที่จะฉีดวัคซีนนี้ให้ฟรีกับประชาชน

ปัจจุบันการพัฒนาวัคซีนสำหรับโรคมะเร็ง แบ่งออกเป็นสองประเภท

  1. Oncolytic vaccine (วัคซีนออนโคลิติก) คือวัคซีนที่พัฒนาโดยใช้ไวรัสที่ผ่านหรือไม่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรม ไวรัสเหล่านี้เมื่อฉีดเข้าไปในร่างกายจะไปติดกับเซลล์มะเร็งที่จำเพาะ และแบ่งตัวเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งโดยตรง โดยที่ไวรัสเหล่านี้ไม่ส่งผลกระทบต่อเซลล์ปกติในร่างกาย ซึ่ง Enteromix จัดอยู่ในประเภทนี้)  ตัวอย่าง วัคซีนออนโคลิติก อื่นๆ  เช่น
    1. T-Vec (Talimogenc laherparepvec) วัคซีนสำหรับมะเร็งผิวหนังชนิดรุนแรง
    2. Replysin อยู่ในขั้นทดสอบ
    3. Sipuleucel-T วัคซีนสำหรับรักษามะเร็งต่อมลูหมาก
  2. Anti-oncovaccine เป็นวัคซีนเพื่อป้องกันหรือรักษามะเร็ง โดยการกระตุ้นระบบภูมิคุ้นกันของร่างกายให้สามารถกำจัดเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย Anti-oncovaccine แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
    1. วัคซีน Anti-oncovaccine ที่ใช้ป้องกันการเกิดมะเร็งหรือป้องกันการติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดมะเร็ง เช่น HBV (Hepatitis B virus) วัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ชนิด บี
    2. วัคซีน Anti-Oncovaccine ที่ใช้เพื่อรักษามะเร็ง ด้วยการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ต่อสู้กับมะเร็งในร่างกาย เช่น
      1. Dendritic Cell-Based Vaccines อย่าง Provenge ที่ใช้รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก
  3. mRNA cancer vaccine เป็นการใช้เทคโนโลยี mRNA ในการสร้างวัคซีนที่มีความจำเพาะกับผู้ป่วยแต่ละราย โดยวัคซีนทำงานด้วยการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายให้กำจัดเซลล์มะเร็งเช่นกัน ซึ่งวัคซีน mRNA มีข้อดีที่พัฒนาได้เร็วและผลิตได้ในปริมาณมาก อย่างไรก็ดี ยังไม่มีวัคซีน mRNA สำหรับรักษาโรคมะเร็งออกมา แต่วัคซีนที่อยู่ระหว่างการพัฒนา อาทิ BNT111 และ mRNA-4157/V940 สำหรับมะเร็งผิวหนัง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!