กูร์มานจัน ดัตกา (Курманжан Датка, 1811-1907)
ฉายาราชินีแห่งอาไล (Queen of Alai)
กูร์มานจัน คุซี่ (Kurmanzhan Mamatbay Kyzy) เกิดวันที่ 22 พฤษภาคม 1811 ในในหมู่บ้านมาดีล, โอช (Madil, Ail Orok, Alai Mountains, Osh Region, Kyrgyz) แถบเทือกเขาเอไล ทางตอนใต้ของคีร์กีชสถานปัจจุบัน
ครอบครัวของเธอนั้นเป็นชนเผ่าเมากัช (Muagush) เผ่าหนึ่งของชาวคีร์กีช (Kyrgyz) ครอบครัวของเธอ ที่มีฐานะดี พ่อของเธอชื่อ มันบัตไบ (Mambatbai)
เมื่ออายุ 18 กูร์มานจัน ถูกบังคับให้แต่งงานกับชายที่เธอไม่รู้จัก ซึ่งเมื่อถึงวันแต่งงานกูร์แมนจันได้เห็นหน้าชายคนนั้นเป็นครั้งแรก และรู้สึกไม่ถูกชะตา เธอจึงได้ปฏิเสธการแต่งงาน และหนีไปยังจีน และอยู่ที่นั่นสามปี ก่อนที่จะกลับมา
1832 กูร์มานจันแต่งานกับ อลิมเบ็ก (Alimbek Datka) ซึ่งมีตำแหน่งเป็น ดัตกา (Datka) หรือ “ผู้นำ” ซึ่งเขาเป็นผู้นำของชาวคีร์กีสในแถบเทือกเขาอัลไต อลิมเบ็ก ยังมีตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองอันดิจัน (Andijan) ซึ่งเขาได้รับการแต่งตั้งโดยมัลล่าข่าน (Malla Khan) แห่งรัฐข่านโคแคนด์ (Kokand Khanate)
กูร์มานจันกับอลิมเบ็ก พวกเขามีลูกด้วยกันห้าคน ชื่ออับดิลบาบัค (Abdyldabak), มามิตเบ็ก (Mamytbek), อาซานเบ็ก (Asanbek), บาตูร์เบ็ก (Batyrbek), คัมชิเบ็ก (Kamchibek)
1862 อลิมเบ็ก ถูกสังหาร ระหว่างที่เกิดการแย่งชิงอำนาจในราชสำนักของรัฐข่านโคแคนด์ หลังจากที่ข่านมัลล่าถูกปลงประชนษ์ หลังอลิมเบ็กเสียชีวิตกูร์มานจัน ได้รับตำแหน่ง “ดัตกา” สืบต่อจากสามี
1876 กองทัพรัสเซียผนวกดินแดนของรัฐข่านโคแคนด์ (Kokand Khanate) และผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซีย แต่บริเวณเอไลยังไม่ได้ถูกผนวกเข้าไปด้วย มีชาวเอไลจำนวนมากที่จับอาวุธขึ้นต่อต้านการปกครองโดยรัสเซีย และมีการปะทะกันจนมีการสูญเสียชีวิตกันมากมาย
ส่วนกูร์มานจันนั้นเมื่อตระหนักว่าไม่สามารถเอาชนะรัสเซียได้ เธอจึงพยายามเกลี่ยกล่อมให้ชาวเอไลยอมรับการปกครองโดยรัสเซีย เพื่อหลีกเลี่ยงความสูญเสีย
ช่วงเวลานั้นประชาชนจำนวนหนึ่งจับอาวุธขึ้นต่อสู้กับรัสเซีย ทำให้การค้าอาวุธสงครามเป็นการค้าที่ทำกำไรอย่างงาม ลูกชายสองกูร์มานจันสองคนและหลานก็ร่วมในการค้าอาวุธเถื่อนด้วย ซึ่งต่อมาพวกเขาถูกจับในข้อหาฆ่าเจ้าหน้าที่ศุลกากรและค้าสิ่งผิดกฏหมาย
กูร์แมนจันเองปฏิเสธที่จะช่วยเหลือลูกชายของเธอ หลบหนีจากความผิด เธอเองนั้นยังได้เข้าไปดูที่พวกเขาถูกตัดสินประหารด้วย และหลังจากนั้นเธอก็เลือกที่จะใช้ชีวิตอย่างสามัญชน
1906 บารอน คาร์ล แมนเนอร์ไฮม์ (Baron Carl Gustafson Emil mannerheim) ซึ่งภายหลังเป็นประธานาธิบดีของฟินแลนด์ แต่ว่าในเวลานั้นเป็นพันโทในกองทัพรัสเซีย ได้มีโอกาสพบกับกูร์แมนจัน และได้ถ่ายภาพของกูร์แมนจันเอาไว้ดวย
1907 1 กุมภาพันธ์, กูร์แมนจันเสียชีวิต ในวัย 95 ปี